ขอแสดงความยินดีกับทีมวิจัยพันธกิจนวัตกรรมของโครงการจุฬาอารี ที่ หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถนะ (กำลังแขน) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Robotic Innovation for Strokes Patients) ได้รับรางวัล THE Awards Asia 2022 จัดโดย THE World Universities Insights Limited เพื่อประกาศเกียรติคุณยกย่องความเป็นผู้นำและผลงานอันโดดเด่นของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย อ่านเพิ่มเติม…
เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 โครงการแผนงานวิจัยไทยอารี (Thailand Platform for Aging Research Innovation (Thai ARi)) นำโดยนางสาวปราณี แหวนทองคำ ผู้จัดการโครงการ และ ดร. นรา พงษ์พานิช หัวหน้าทีมวิจัยส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร พร้อมทั้งทีมงานนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี นักวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์โทรเวชกรรม…
วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2565 โครงการจุฬาอารีได้สนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค อุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 เช่น แมส เจลแอลกอฮอล์ ชุดตรวจ ATK ให้กับชุมชนคลองลัดภาชีซึ่งเป็นศูนย์กลางในการดูแลพี่น้องผู้เดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มา: https://www.csitereport.com/newsdetail?id=0000023135. C-Site Report. วันที่ 22 มีนาคม 2565
ชุมชนเมืองมีการปรับรูปแบบให้เอื้อประโยชน์ให้กับผู้สูงวัย ในชุมชนคลองลัดภาชี อยู่บริเวณถนนเพชรเกษม ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ทางชุมชนได้มีการออกแบบบ้านเรือนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ร่วมกับทางจุฬาอารี เพื่อสร้างความสะดวกให้กับผู้สูงวัย เป็นจำนวน 12 หลัง โครงการนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ปี 2564 ที่ผ่านมา ที่มา: ปรับบ้าน ออกแบบเมือง “เพื่อเราทุกคน” รายการไทยพีบีเอส คุณเล่า เราขยาย, ออกอากาศเมื่อวันที่ 25…
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 โครงการพัฒนาระบบรองรับสังคมสูงวัยในบริบทของชุมชนเมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้โครงการแผนงานวิจัยไทยอารี (Thailand Platform for Aging Research Innovation (Thai ARi)) นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง และนักศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ได้ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมตรวจสุขภาพด้วยเครื่องประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองให้กับผู้สูงอายุ ชุมชนเมืองน้อยใต้…
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 โครงการแผนงานวิจัยไทยอารี (Thailand Platform for Aging Research Innovation (Thai ARi)) นำโดยนางสาวปราณี แหวนทองคำ ผู้จัดการโครงการ และ อาจารย์ฉัตรสุดา มาทาหัวหน้าทีมวิจัยส่วนภูมิภาคจังหวัดลำปาง พร้อมทั้งทีมงานนักวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์โทรเวชกรรม…
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 โครงการจุฬาอารี: ใส่ใจชุมชนรอบข้าง นำโดย ผศ. สพ.ญ. ดร. สร้อยสุดา โชติมานุกูล พร้อมทั้งนิสิตจิตอาสา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินกิจกรรมลงพื้นที่ออกหน่วยทำหมันสัตว์เลี้ยงสุนัขและแมวเพศผู้ของสมาชิกในชุมชนวัดหัวลำโพง ณ โรงเรียนพุทธจักรวิทยา เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีสัตว์เลี้ยงและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลกระทบระหว่างมนุษย์สัตว์และสิ่งแวดล้อม (One Health) ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้สูงอายุ เช่น…
โครงการแผนงานวิจัยไทยอารี (Thailand Platform for Aging Research Innovation (Thai ARi)) ส่งมอบหุ่นยนต์ (น้องไข่มุก) และเครื่องตรวจประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองชัยภูมิ สาขาชุมชนเมืองน้อย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์…
บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน มอบอาหารสัตว์ (ครั้งที่ 4) บริษัท เพอร์เฟค คอมพาเนียน กรุ๊ป จํากัด โดย นายสัตวแพทย์ ดนัย เพียรจริง ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายสัตวแพทย์และประสานกิจกรรมสัมพันธ์ ได้มอบอาหารสุนัขและแมว ผ่านโครงการจุฬาอารี: ใส่ใจชุมชนรอบข้าง เพื่อมอบให้ชาวชุมชนวัดหัวลำโพง ไว้ดูแลสัตว์เลี้ยงในช่วงต้องเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในชุมชน…
โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัยในชุมชนเมือง หรือโครงการจุฬาอารี เป็นการ บูรณาการสหศาสตร์ด้านผู้สูงอายุ ด้านการวิจัย และด้านการบริการวิชาการเชิงรุกเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยและนวัตกรรมนำไปสู่การกำหนดนโยบาย การพัฒนาระบบกลไก ตลอดจนการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแบบองค์รวม ทั้งมิติเศรษฐกิจและการมีส่วนร่วม ประชากรและสังคม สุขภาพ สภาพแวดล้อม และเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีการมุ่งขับเคลื่อนบทบาทของความร่วมมือในระหว่างมหาวิทยาลัยในการสร้างสรรค์และขับเคลื่อนงานวิจัยไปสู่นโยบายและการปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้ชื่อแผนงานไทยอารี โดยโครงการมุ่งที่จะให้เกิดต้นแบบระบบรองรับการสูงวัยในท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละภูมิภาค ระบบสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต คนรุ่นใหม่มีการเตรียมความพร้อมพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ และมีการพัฒนาเศรษฐกิจและนวัตกรรมที่สามารถส่งเสริมความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือความยั่งยืนของระบบที่ชุมชนหรือท้องถิ่นสามารถดำเนินการด้วยตนเองโดยมีมหาวิทยาลัยในภูมิภาคให้การสนับสนุน