ปี 2564 ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จะเข้ามาช่วยเติมเต็มการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุได้อย่างไร ?
Human-Centred Design การดีไซน์ที่นึกถึงหัวใจของผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางแนวคิด นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ เน้นการแก้ปัญหาจากความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์
- เตียงตื่นตัว หรือ “Joey” นวัตกรรมช่วยให้ผู้สูงอายุลุกขึ้นนั่งหรือยืนจากท่านอนได้เอง
- “BEN” อุปกรณ์ขึ้นลงเตียงแบบพับนั่งได้
- ผ้ากระตุ้นสมอง หรือ “อากิโกะ” สำหรับผู้สูงอายุมีภาวะความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม
และวันนี้ นักวิจัยไทยยังเดินหน้าพัฒนา “ยาแก้ไขความชรา” (Rejuvenating Drug) นวัตกรรมที่จะช่วยรักษาและฟื้นฟูผู้สูงอายุจากโรคภัยในระดับ DNA ที่เรียกว่า REDGEMs หรือ มณีแดง ยาอายุวัฒนะช่วยให้มนุษย์มีอายุยืนยาวขึ้นด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ ซึ่งเป็นความหวังของโลกในอนาคต
ร่วมหาคำตอบไปกับ
- ศาสตราจารย์ ดร. วิพรรณ ประจวบเหมาะ : คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย “โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
- ดร. ศราวุธ เลิศพลังสันติ : หัวหน้าทีมวิจัยการออกแบบและแก้ปัญหาอุตสาหกรรม กลุ่มวิจัยการออกแบบเชิงวิศวกรรมและการคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
- ดร. วนิดา จันทร์วิกูล : นักวิจัยอาวุโส กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
- คุณเอกพงษ์ คงเจริญ : ผู้ช่วยวิจัย ทีมวัสดุศาสตร์อาหาร กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
- ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ อภิวัฒน์ มุทิรางกูร : อาจารย์ประจำภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่มา: รายการ The NEXT คลื่นอนาคต ออกอากาศเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2564
Channel: ThaiPBS