Menu Close

หนังสือ

รายงานการวิจัย ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในบริบทสังคมเมือง

การสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอายุ: การศึกษาแนวพัฒนาการชีวิต
(มิติการสนับสนุนของชุมชนและการบริการด้านสุขภาพ)
ปีที่ 2 เล่มที่ 2 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ

รายงานวิจัย (ปีที่ 2 เล่มที่ 2 ผลการจัยเชิงคุณภาพ) โครงการที่ 4.6 เรื่องการสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอายุ: การศึกษาแนวพัฒนาการชีวิต (มิติการสนับสนุนของชุมชนและการบริการด้านสุขภาพ) นี้ เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยหรือโครงการจุฬาอารี ชุดโครงการแผนพัฒนาวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “สร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ช่วงที่ 2”  ปีงบประมาณ 2562 (เดือนเมษายน 2561 ถึง เมษายน 2562) ในการดำเนินโครงการวิจัยนี้ คณะผู้วิจัย ได้รับความร่วมมือจากทีมวิจัยกลุ่มพันธกิจเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอายุ หน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชน รวมทั้งนิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้การดำเนินโครงการนี้เป็นไปด้วยความราบรื่นยิ่ง รวมทั้งคุณทิพวัลย์ ยารังฝั้น ผู้ออกแบบปกและรูปเล่ม คณะผู้วิจัย ขอขอขอบคุณทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้ด้วย

คณะผู้วิจัย
รศ. ดร. อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
ผศ. ดร .พรรณระพี สุทธิวรรณ
ผศ. ดร. เรวดี วัฒฑกโกศล
รศ. ดร. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
ดร. นิปัทม์ พิชญโยธิน
อาจารย์ สักกพัฒน์ งามเอก
ดร. พนิตา เสือวรรณศรี
ดร. หยกฟ้า อิศรานนนท์
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่อง ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในบริบทสังคมเมือง

รายงานผลการศึกษานี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย เรื่องการสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอผู้สุขอายุ การศึกษาแนวพัฒนาการชีวิต (มิติการสนับสนุนของชุมชนและการบริการสุขภาพ) ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานในปีที่ 2 ต่อเนื่องจากปีที่หนึ่ง โดยการศึกษาเชิงคุณภาพในปีที่ 1 คณะผู้วิจัยพบว่า ผู้สูงอายุ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง (ได้แก่ สมาชิกครอบครัวของผู้สูงอายุ เช่น ภรรยา สามี ลูก หลาน ญาติ ที่ผู้สูงอายุระบุว่ามีความใกล้ชิดกับตน วัยรุ่นในชุมชน และผู้ที่ทำงานเป็นอาสาสมัครในชุมชน ทีมสุขภาพที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ เช่น ทีมอาสาสมัครสาธารณสุข บุคลากรที่เป็นเครือข่ายทางสังคมต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุสังกัดอยู่ในชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอายุ) มีมุมมองเกี่ยวกับ “การสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะที่ดีว่า คือ การที่ผู้สูงอายุมองว่าตนเป็นสุขภาพร่างกายดี อารมณ์ดี ปล่อยวางเป็น และพึ่งพาตนเองได้ไม่เป็นการะลูกหลาน ตามด้วยการมีความรักความอบอุ่นในครอบครัว การได้เลี้ยงดูอบรมลูกหลาน การได้เห็นความสำเร็จในชีวิตของลูกหลาน รวมถึงการได้อยู่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่มีเพื่อนบ้านเป็นมิตร ดูแลเกื้อกูลกัน ส่วนความทุกข์ที่สำคัญ คือ การมีสัมพันธภาพที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นความไม่ลงรอย ความไม่เข้าใจของลูกหลาน หรือคนในชุมชน เป็นต้น

ข้อสังเกตประการหนึ่งในการศึกษาเชิงคุณภาพปีที่หนึ่ง คือ “ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง” เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุคงรักษาและสร้างความสุข สุขภาวะ และสุขภาพจิต ดังนั้นในการศึกษาเชิงคุณภาพปีที่ 2 คณะผู้วิจัยจึง ศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในบริบทสังคมเมือง โดยคณะผู้วิจัยหวังว่าข้อความรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่การตระหนักถึงความสำคัญ และความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เอิ้อต่อการสูงวัยอย่างมีความสุขและการใช้ชีวิตอย่างอยู่ดีมีสุข ตลอดจนเป็นแนวทางในการดำเนินการส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะต่อไป

รายงานการวิจัย ความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุในบริบทสังคมเมือง

การสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอายุ: การศึกษาแนวพัฒนาการชีวิต
(มิติการสนับสนุนของชุมชนและการบริการด้านสุขภาพ)
ปีที่ 1 เล่มที่ 2 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ

รายงานวิจัย (ปีที่ 1 เล่มที่ 2 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ) โครงการที่ 4.6 เรื่องการสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอายุ: การศึกษาแนวพัฒนาการชีวิต (มิติการสนับสนุนของชุมชนและการบริการด้านสุขภาพ) นี้ เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยหรือโครงการจุฬาอารี ชุดโครงการเผนพัฒนาวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “สร้างเสริมพลังจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 ช่วงที่ 2” ปีงบประมาณ 2562 (เดือนเมษายน 2561 ถึง เมษายน 2562) ในการดำเนินโครงการวิจัยนี้ คณะผู้วิจัย ได้รับความร่วมมือจากทีมวิจัยกลุ่มพันธกิจเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอายุ หน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชน รวมทั้งนิสิตปัจจุบันและศิษย์เก่าคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำให้การดำเนินโครงการนี้เป็นไปด้วยความราบรื่นยิ่ง รวมทั้งคุณทิพวัลย์ ยารังฝั้น ผู้ออกแบบปกและรูปเล่ม คณะผู้วิจัย ขอขอบคุณทุกท่าน มา ณโอกาสนี้ด้วย

คณะผู้วิจัย
รศ. ดร. อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
ผศ. ดร .พรรณระพี สุทธิวรรณ
ผศ. ดร. เรวดี วัฒฑกโกศล
รศ. ดร. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
ดร. นิปัทม์ พิชญโยธิน
อาจารย์ สักกพัฒน์ งามเอก
ดร. พนิตา เสือวรรณศรี
ดร. หยกฟ้า อิศรานนนท์
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่อง มุมมองการสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะ

รายงานผลการศึกษานี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย เรื่องการสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอายุการศึกษาแนวพัฒนาการชีวิต (มิติการสนับสนุนของชุมชนและการบริการด้านสุขภาพ) ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานในปีที่ 1 โดยคณะผู้วิจัยมีความสนใจศึกษามุมมองเชิงลึกในเรื่อง การสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะของผู้สูงอายุของคนในชุมชนที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ รวมทั้งความร่วมมือในครอบครัวที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นบุคคลต่างวัยกัน กลุ่มสหวิชาชีพ ทีมสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ เครือข่ายทางสังคมต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุสังกัดอยู่ในชุมชนเมืองน่าอยู่เพื่อผู้สูงอายุ

คณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ โดยหวังว่าข้อความรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่การตระหนักถึงความสำคัญ และความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสูงวัยอย่างมีความสุขและการใช้ชีวิตอย่างอยู่ดีมีสุข ตลอดจนเป็นแนวทางในการดำเนินการส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีความสุขและสุขภาวะต่อไป

คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง โดยแนวคิดการดูแลแบบฮิวเมนนิจูด

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะบกพร่องทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่ต้องอาศัยการฟื้นฟูดูแลรักษาเป็นเวลานาน การดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองต้องอาศัยความต่อเนื่องและความรู้ความเข้าใจจากผู้ดูแลในครอบครัว เพื่อกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้าน คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองโดยแนวคิดการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ดูแลในครอบครัวสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

จัดทำโดย
รองศาสตราจารย์ ดร. จิราพร  เกศพิชญวัฒนา
ร.ท. หญิง เสวนีย์  เปรมสมิทธ์

โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย
กลุ่มพันธกิจสุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คู่มือนวัตกรรมการดูแลผู้สูงอายุในภาวะวิกฤต โดยแนวคิดการดูแลแบบฮิวเมนนิจูด

ความวิตกกังวลเป็นปัญหาทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ ความวิตกกังวลจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกให้หลั่งสารแคททีโคลามีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น หัวใจบีบตัวแรงขึ้น ความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายมากขึ้น หากมีความวิตกกังวลในระดับสูงจะกระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต

จากปัญหาดังกล่าว ผู้จัดทำในฐานะพยาบาลผู้สูงอายุที่มีบทบาทในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จึงได้นำแนวคิดการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวล เพื่อให้ผู้สูงอายุผ่อนคลายความวิตกกังวล และได้รับการดูแลเอาใจใส่จากพยาบาลด้วยความรัก ความเข้าใจและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้สูงอายุ

จัดทำโดย
รองศาสตราจารย์ ดร. จิราพร  เกศพิชญวัฒนา
นางสาวอัจฉราภรณ์  ยังอยู่เกตุ

โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย
กลุ่มพันธกิจสุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คู่มือดูแลตนเองเพื่อสุขภาพดีมีความสุข (ฉบับประชาชน)

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ทั่วโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในราวปี พ.ศ. 2565 สัดส่วนผู้สูงอายุต่อวัยทำงานที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีความรู้และศักยภาพในการดูแลตนเอง (self-care) เพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดี

หนึ่งในกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ คือ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) แก่ประชาชนผู้สูงอายุและวัยก่อนสูงอายุ ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุสุขภาพดี ลดจำนวนผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงลง ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน

โครงการจุฬาอารีหรือโครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัยเป็นการระดมภาคีรองรับสังคมสูงวัยเชิงรุกมีเป้าหมายเพื่อสร้างสังคมไทยเป็นสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ จึงริเริ่มจัดทำ “คู่มือดูแลตนเองเพื่อสุขภาพดีมีความสุข ฉบับประชาชน” เน้นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในมิติต่าง ๆ ตามแนวทางการบูรณาการดูแลผู้สูงอายุขององค์การอนามัยโลก (WHO Integrated Care for Older People, WHO ICOPE) โดยเป็นผลผลิตจากการประชุมผู้เชี่ยวชาญ (กิตติกรรมประกาศ) และความร่วมมือกับกรมอนามัย กรมการแพทย์ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานครและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับบุคลากรสาธารณสุขและผู้ที่สนใจการดูแลตนเองสู่การเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีให้มีความรู้ในการดูแลตนเองและนำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตนเองได้ อันจะเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้ประเทศไทยก่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์

จัดทำโดย

  • คุณทิพรดี คงสุวรรณ  สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
  • ทพ. พร. ยศกฤต หล่อชัยวัฒนา   คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ. กภ. สมนึก กุลสถิตพร  คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดร. พญ. สายพิณ โชติวิเชียร   สำนักโภชนาการ กรมอนามัย
  • รศ. พญ. โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์     คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ. ดร. อรัญญา ตุ้ยคีมภีร์    คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ทญ. ดร. อรุณี ลายธีระพงศ์    คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย
กลุ่มพันธกิจสุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คู่มือการจัดการพฤติกรรมกระวนกระวายในผู้ป่วยสูงอายุสมองเสื่อมด้วย “ฮิวเมนนิจูด”

ภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญที่ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ จิตสังคมและจิตวิญญาณ การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมเป็นการดูแลที่มีความชับซ้อนผู้ดูแลจึงมีความสำคัญเป็น อย่างยิ่งในการเรียนรู้และเข้าใจผู้ป่วยสมองเสื่อม ปัญหาการหลงลืม ความคิด การตัดสินใจ พฤติกรรม อารณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ผู้ดูแล เกิดความเครียดและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจและสัมพันธ ภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยอีกด้วย ปัญหาพฤติกรรมกระวนกระวายจึง เป็นปัญหาหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดและความยากลำบากในการดูแล ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้จัดทำโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจุดโดยผู้ดูแลผู้ป่วย สมองเสื่อมที่ มีพฤติกรรมกระวนกระวายขึ้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ดูแลจะ สามารถนำวิธีการดูแลของฮิวแมนนิจูดไปใช้ดูแลจัดการกับพฤติกรรมกระวนกระวายและประยุกต์ใช้ ในการดูแลกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ของผู้ป่วย สมองเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างรอยยิ้มให้กับผู้ดูแลและผู้ป่วยให้มีความสุขไปพร้อม ๆกัน

จัดทำโดย
รองศาสตราจารย์ ดร. จิราพร  เกศพิชญวัฒนา
นางสาวธันยนันท์  พุฒิวัฒนธราดล

โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย
กลุ่มพันธกิจสุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คู่มือโปรแกรมการพยาบาลประคับประคองแบบฮิวเมนนิจูด สำหรับพยาบาล

โรคมะเร็งเป็นการเจ็บป่วยที่สำคัญในวัยสูงอายุและพบว่ามีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อโรคดำเนินจนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาที่เรียกว่า การดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งเมื่อผู้สูงอายุโรคมะเร็งเข้าสู่ระยะนี้แล้วนั้นจะพบว่า มีความทุกข์ทรมานจากอาการของโรคที่ลุกลามมากขึ้น ส่งผลให้ความสุขสบายลดลง ทั้งนี้การดูแลผู้สูงอายุโรคมะเร็งแบบประคับประคองนั้น มีเป้าหมายเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นส่งเสริมให้เกิดความสุขสบาย

จากความสำคัญดังกล่าว คณะผู้จัดทำจึงได้นำปรัชญา แนวคิดการดูแลผู้สูงอายุด้วยหลักการเคารพและเข้าใจในความเป็นมนุษย์ (Humanitude Care) มาผสานกับการพยาบาลประคับประคองและประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้การดูแลผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความสุขสบาย ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีทางการพยาบาลต่อไป

จัดทำโดย
รองศาสตราจารย์ ดร. จิราพร  เกศพิชญวัฒนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิณี  วิวัฒน์วานิช
นางสาวนันทยา  แก้ววงษา

โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย
กลุ่มพันธกิจสุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดูแลผู้ป่วยอย่างไร...ให้สุขสบาย (คู่มือสำหรับผู้ดูแล)

ผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วย มักมีความทุกข์ทรมานจากอาการต่าง ๆ ของโรค การดูแลจึงเป็นเรื่องที่ซับซ่อน  ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรมีความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มนี้ให้เกิดความสุขสบายในด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ และสิ่งแวดล้อม

คู่มือเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ผู้ดูแลในการดูแลเพื่อส่งเสริมความสุขสบาย เพื่อให้ผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวสามารถดูแลผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแบประคับประคองอย่างใกล้ชิดด้วยความอบอุ่นและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

จัดทำโดย
รองศาสตราจารย์ ดร. จิราพร  เกศพิชญวัฒนา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุวิณี  วิวัฒน์วานิช
นางสาวนันทยา  แก้ววงษา

โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย
กลุ่มพันธกิจสุขภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พลังชีวิต ข้อคิดเพื่อคนทุกวัย

หนังสือ “พลังชีวิต ข้อคิดเพื่อคนทุกวัย” เล่มนี้ จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยประชากรศาสตร์ ในปีที่ 57 ซึ่งโครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัยแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือโครงการจุฬาอารี ได้จัดรายการ “ธรรมะยามเย็น ร่มเย็นเป็นสุข” ทุกวันศุกร์ เวลา 18.00 น. โดยได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์จีรเดช อภิเตโช และอาจารย์แม่ชีนนทพร นนทพันธุ์ มาเป็นวิทยากรบรรยายธรรม สนทนาธรรม และนำภาวนาผ่านรูปแบบออนไลน์ให้กับประชากรหลากหลายรุ่นวัย เพื่อเป็นหลักคิดและหลักใจในการดำเนินชีวิต และเพื่อเพิ่มบทบาทของวิทยาลัยฯ ในการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติในรูปแบบของการถ่ายทอดองค์ความรู้ และการบริการทางสังคมที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรไทย พร้อมทั้งกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมในมิติต่างๆ ของชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าสู่วัยสูงอายุ และการรับหน้าที่ของการเป็นผู้ดูแล

โดยเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะเริ่มต้นด้วยหลักวิชาการ เพื่อชี้ให้ผู้อ่านตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมใน 7 มิติให้กับตนเองและครอบครัว ก่อนที่ทุกอย่างอาจจะสายเกินไป จากนั้นจะเป็นส่วนของหลักคิดเพื่อช่วยแก้ไขนิสัย ปรับความคิด และทัศนคติ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความสุข และการฝึกปล่อยวาง จากนั้นก็จะเป็นส่วนของหลักคิดที่ดีและวิธีรับมือกับภาระที่หนักอึ้งสำหรับผู้ดูแลผู้ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ “พลังชีวิต ข้อคิดเพื่อคนทุกวัย” เล่มนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านตระหนักถึงความจำเป็นของการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยสูงอายุ พร้อมทั้งเรียนรู้หลักคิดของการเป็นผู้สูงอายุและผู้ดูแลที่ใจมีความสุข แม้กายอาจหมดอิสระและต้องตกอยู่ในภาวะพึ่งพิง หรือการต้องรับภาระหนักอึ้งในการรับบทบาทของการเป็นผู้ดูแล เพราะการต้องเผชิญกับเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันหรือนานาวิกฤตินั้น เราจำเป็นต้องมีหลักใจที่มั่นคงเพื่อเป็นพลังในการดำเนินชีวิตที่ยืนยาว

จัดทำโดย
คณะกรรมการศิลปะและวัฒนธรรม
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ

56 ข้อคิด ให้ชีวิตมีพลัง

หนังสือ 56 ข้อคิด ให้ชีวิตมีพลัง เล่มนี้ จัดพิมพ์ขึ้นเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยประชากรศาสตร์ ปีที่ 56 คณะกรรมการศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาลัยประชากรศาสตร์ ได้เรียบเรียงข้อคิดข้อธรรมจากกิจกรรม “ธรรมะยามเย็น ร่มเย็นเป็นสุข” ซึ่งได้จัดขึ้นทุกวันศุกร์เวลา 18.00 น. ผ่านรูปแบบออนไลน์ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยความเมตตาของพระอาจารย์จีรเดช อภิเตโซ และอาจารย์แม่ชีนนทพร นนทพันธุ์ ผู้ซึ่งถ่ายทอดข้อคิด หลักธรรม และวิธีการปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นแสงสว่างทางปัญญาในการดำรงชีวิต

กิจกรรม “ธรรมะยามเย็น ร่มเย็นเป็นสุข” จัดขึ้นโดย วิทยาลัยประชากรศาสตร์ ร่วมกับโครงการจุฬาอารี และแผนงานวิจัยไทยอารี โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ

  1. เพื่อส่งสริมคุณธรรม และจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของบุคลากร นิสิต และบุคคลทั่วไป
  2. เพื่อให้ผู้สูงอายุภายใต้โครงการจุฬาอารีและไทยอารีทั้ง 4 ภาคของประเทศ ได้มีโอกาสทำวัตรเย็น ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้สถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านระบบออนไลน์
  3. เพื่อเพิ่มบทบาทของวิทยาลัยฯ ในการส่งเสริมพุทธศาสนา และการทำนุบำรุงสงปวัฒนธรรมอันดีงามของชาติในรูปแบบของการถ่ายทอดองค์ความรู้และบริการทางสังคมที่ช่วยเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรไทย ในยามที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายในหลากหลายมิติ

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือพร้อมเสียงธรรมะบรรยาย ซึ่งสามารถสแกนคิวอาร์โค้ด (QR Code) รับฟังดัชนีรายการธรรมะบรรยายได้ในส่วนท้ายเล่ม โดยคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นข้อคิดและเสริมพลังใจให้กับผู้อ่านและผู้ ฟัง ในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน ทั้งจากกระแสโลกาภิวัตน์ การแพร่ระบาดของโรค และการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการเปลี่ยนผ่านทางประชากรที่ส่งผลให้ประซากรไทย เกิดน้อยอายุยืน การมีหลักใจที่มั่นคงตลอดช่วงชีวิตที่ยืนยาว จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการที่จะรับมือและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ

จัดทำโดย
คณะกรรมการศิลปะและวัฒนธรรม
วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ

COVID-15 and older persons: Evidence from the survey in Thailand

คู่มือดูแลตนเองเพื่อสุขภาพดีมีความสุข

คู่มือการดูแลตนเองเพื่อการเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดีถูกพัฒนาขึ้นตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก มีเนื้อหาที่ครบถ้วนเพียงพอ เหมาะสม ถูกต้อง และสามารถปฏิบัติได้จริง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแตกฉานด้านสุขภาพให้กับประชาชนไทย จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น และช่วยลดภาระงานของทีมแพทย์ในการให้การรักษาและฟื้นฟูอีกด้วย

สูงอายุอย่างมีคุณภาพ...สร้างได้...

  • 3 แนวทางการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
  • ข้อควรปฏิบัติเพื่อภาวะโภชนาการที่ดีสำหรับผู้สูงอายุ
  • 4 อ. 3 ส. 1 ร. เพื่อการเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดี
  • สูงวัยอย่าง… สุขใจ
  • 9 ข้อควรระวังเรื่องที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ
  • ปรับพื้นที่สาธารณะรองรับสังคมสูงวัย
  • 5 ข้อคิดเพื่อความมั่นคงทางการเงินยามสูงอายุ
 
thThai
en_USEnglish thThai